ตราเกษตร

ตราเกษตร

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สาระที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ : ผ่อนหนักให้เป็นเบา
มาตรฐานการเรียนรู้ : พ 5.1 ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ
การใช้ยา สารเสพติดและความรุนแรง
ตัวชี้วัด :
1. แสดงวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกวิธี
สาระสำคัญ :
คนเรามีชีวิตอยู่ได้เพราะหัวใจเต้นและมีการหายใจ คนปกติมีชีวิตอยู่ได้ด้วยระบบสำคัญ 2 ระบบ คือระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือด ระบบหายใจ ซึ่งมีปอดเป็นอวัยวะสำคัญ จะทำงานโดยหายใจเอาอากาศดีที่มีออกซิเจนสูงจากอากาศภายนอก ผ่านจมูก และ หลอดลมเข้าไปในปอด แล้วหายใจเอาอากาศเสียที่มีคาร์บอนไดออกไซด์จากในปอดผ่านหลอดลม และ จมูกออกมาสู่ภายนอก
ระบบไหลเวียนเลือดมีหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำงานโดยหัวใจจะสูบฉีดเลือดที่รับออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยง เซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เช่น สมอง ลำตัว แขนขา แล้วรับคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียจากการทำงาน ของเซลล์มาที่ปอด เพื่อให้ระบบหายใจพาออกไปทิ้งยังอากาศนอกตัวเรา สาเหตุที่ทำให้หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น ภาวะหยุดหายใจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น จมน้ำ, เป็นอัมพาต, สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดิน ลมหายใจ,สูดดมควันเข้าไปมาก, ได้รับยาเกินขนาด, ไฟฟ้าดูด , อยู่ในที่ไม่มีอากาศหายใจ, บาดเจ็บ, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน,ฟ้าผ่า และสมองเสียการทำงานจนโคม่าจากสาเหตุต่างๆ
ภาวะหัวใจหยุดเต้นหมายถึงการไหลเวียนเลือดหยุดลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทราบได้จากการหมดสติไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีอาการไอ คลำชีพจรไม่ได้ ไม่มีการหายใจอย่างที่เป็นตามปกติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น เกิดขึ้นจากสาเหตุหลาย อย่าง เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือที่เรียกกันว่า หัวใจวาย หรืออาจเกิดขึ้น ตามหลังภาวะหยุดหายใจ
คนที่หยุดการหายใจและหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว ยังมีโอกาสฟื้นได้ เมื่อใครก็ตามหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น หากมีใครสักคนรีบทำการช่วยชีวิต ขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support- BLS) ก็จะทำให้มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอดและมีเลือดไหลเวียนเอาออกซิเจนไป เลี้ยง สมองเพียงพอที่จะทำให้สมองยังทำงานได้โดยไม่เกิดสมองตาย คนผู้นั้นจึงยังมีโอกาสที่จะกลับฟื้นขึ้นมามีชีวิตปกติได้ เราจึงควรรู้ทั้งวิธี หรือขั้นตอนที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้ช่วยชีวิตผู้อื่นได้ทันเวลา
สาระการเรียนรู้ :
• การช่วยชีวิตเบื้องต้น
• การบรรยายโดยวิทยากร เรื่อง การช่วยชีวิตเบื้องต้น
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน :
1. ความสามารถในการคิด ผู้เรียนสามารถคิดและปฏิบัติการช่วยชีวิตเบื้องต้นได้
2. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการดำรงชีวิตและดูแลตนเองได้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ :
1. ผู้เรียนมีความใฝ่รู้และตั้งใจในการเรียนการสอน
2. ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์สุจริตต่องานที่ได้รับมอบหมายและมีความตั้งใจจริงที่จะทำผลงานของตนเองออกมาให้ดี
3. ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามที่ครูได้รับมอบหมาย
4. ผู้เรียนจะต้องมีระเบียบ วินัยในตนเอง ปฏิบัติตนให้อยู่ในกฎและระเบียบของโรงเรียนและตามข้อตกลงระหว่างครู
ชิ้นงาน/ภาระงาน; การศึกษาค้นคว้า/รานงานหน้าชิ้น
• ใบความรู้
การวัดและประเมินผล
คะแนนเข้าเรียน/การมีส่วนร่วมในชิ้นเรียน 10 %
สอบกลางภาค 20 %
สอบปลายภาค 20 %
สอบปฏิบัติ 20 %
งานเดี่ยว 20 %
การเข้าร่วมฟังบรรยาย 10 %
กิจกรรมการเรียนรู้ :
• ถาม-ตอบกันในชั่วโมงเรียน
• ทำใบงานและแลกเปลี่ยนความรู้กัน
• การปฏิบัติ
เวลาเรียน/จำนวนชั่วโมง
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน 1 ชั่วโมง
การบรรยายพิเศษ 1 ชั่วโมง

สาระที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2


ชื่อหน่วยการเรียนรู้   :   หลีกหลบอันตราย
มาตรฐานการเรียนรู้    :    พ 5.1  ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง  พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ  อุบัติเหตุ 
                                         การใช้ยา  สารเสพติดและความรุนแรง
ตัวชี้วัด :
   1.  การวางแผน  กำหนดแนวทางลดอุบัติเหตุและสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
   2.  มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
   3.  ใช้ทักษะการตัดสินใจแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อสุขภาพและความรุนแรง
สาระสำคัญ :
     ปัจจุบันอาชญากรรมได้เป็นปัญหาความปลอดภัยที่สำคัญประการหนึ่งของสังคม  อาชญากรรมทำให้เกิดการบาดเจ็บ  สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้  อย่างไรก็ตามหากเรารู้จักการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยก็จะสามารถป้องกันตนเองได้ระดับหนึ่งและหากชุมชนได้มีการรวมตัวกันเป็นประชาสังคมในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  ร่วมมือกันสอดส่องดูแล  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้นก็จะทำให้เกิดความปลอดภัยได้
     อีกปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตเรา คือ ความปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่างๆ โดยเราจะต้องรู้ว่าสาธารณภัย  เป็นภัยที่เกิดได้ทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์  ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน  สาธารณภัยเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น  แต่มนุษย์ทุกคนอาจประสบกับสาธารณภัยได้  จึงต้องเตรียมพร้อมทั้งในการป้องกัน  การแก้ไข  โดยเรียนรู้ว่าจะต้องปฏิบัติตนเองอย่างไร  หากเข้าไปอยู่ในชุมชนหรืออยู่ในสถานการณ์ความรุนแรงต่างๆ
สาระการเรียนรู้ :
·       อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร
·       เครื่องหมายจราจร
·       ปัญหาความปลอดภัยในสังคมและชุมชน
·       สาธารณภัย
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน :
1. ความสามารถในการคิด ผู้เรียนสามารถคิดและเข้าใจความสำคัญของการเรียนรู้เรื่อง สาธารณภัย อุบัติเหตุ
2. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการดำรงชีวิตและดูแลตนเองให้ห่างไกลจากภัยต่างๆด้วยการระวังและปกป้องตนเอง
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ :
     1. ผู้เรียนมีความใฝ่รู้และตั้งใจในการเรียนการสอน
      2. ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์สุจริตต่องานที่ได้รับมอบหมายและมีความตั้งใจจริงที่จะทำผลงานของตนเองออกมาให้ดี
      3. ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามที่ครูได้รับมอบหมาย
      4. ผู้เรียนจะต้องมีระเบียบ วินัยในตนเอง ปฏิบัติตนให้อยู่ในกฎและระเบียบของโรงเรียนและตามข้อตกลงระหว่างครู
ชิ้นงาน/ภาระงาน; การศึกษาค้นคว้า/รานงานหน้าชิ้น
·       ใบความรู้
การวัดและประเมินผล
                คะแนนเข้าเรียน/การมีส่วนร่วมในชิ้นเรียน          10%
                สอบกลางภาค                                                       20%
                สอบปลายภาค                                                      20%
                งานกลุ่ม                                                                25%
              งานเดี่ยว                                                               25%
กิจกรรมการเรียนรู้  :  
·       นักเรียนถาม-ตอบกันในชั่วโมงเรียน
·       ทำใบงานและแลกเปลี่ยนความรู้กัน
เวลาเรียน/จำนวนชั่วโมง
อุบัติเหตุและความปลอดภัย          3     ชั่วโมง
ความปลอดภัยในชุมชน          2     ชั่วโมง

สาระที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ : ยาเสพติดและความเสี่ยง
มาตรฐานการเรียนรู้ : พ 5.1 ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ
การใช้ยา สารเสพติดและความรุนแรง
ตัวชี้วัด :
1. มีส่วนร่วมในการป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ยา การใช้สารเสพติดและความรุนแรง เพื่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและสังคม
2. วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการครอบครอง การใช้และจำหน่ายสารเสพติด
3. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ หรือความรุนแรงของคนไทย
สาระสำคัญ :
การดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันอาจทำให้คนเราได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุ การใช้ยาด้วยตนเอง สารเสพติดที่แพร่ระบาดในชุมชนและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวและสังคมได้ ดังนั้นจึงควรเรียนรู้ถึงการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วนำไปปฏิบัติ พร้อมทั้งแนะนำบุคคลอื่น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยขึ้นต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน
ปัญหาจากอุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติดและความรุนแรง เป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อสวัสดิภาพและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ การป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนในชุมชนหรือสังคมควรร่วมมือกัน โดยการปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
สาระการเรียนรู้ :
• ยาเสพติด
• ความรุนแรงในสังคม
• กฎหมายและโทษของยาเสพติด
• สุขภาพจิตกับการลดภาวะความเสี่ยง
• สุขภาพกับปัจจัยเสี่ยง
• แนวทางการแก้ปัญหาและป้องกันสารเสพติด
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน :
1. ความสามารถในการคิด ผู้เรียนสามารถคิดและเข้าใจความสำคัญของการเรียนรู้เรื่อง ยาเสพติดและความรุนแรง
2. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการดำรงชีวิตและดูแลตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดและความรุนแรงต่างๆ รวมไปถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆด้วย
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ :
1. ผู้เรียนมีความใฝ่รู้และตั้งใจในการเรียนการสอน
2. ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์สุจริตต่องานที่ได้รับมอบหมายและมีความตั้งใจจริงที่จะทำผลงานของตนเองออกมาให้ดี
3. ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามที่ครูได้รับมอบหมาย
4. ผู้เรียนจะต้องมีระเบียบ วินัยในตนเอง ปฏิบัติตนให้อยู่ในกฎและระเบียบของโรงเรียนและตามข้อตกลงระหว่างครู
ชิ้นงาน/ภาระงาน; การศึกษาค้นคว้า/รานงานหน้าชิ้น
• การอภิปรายกลุ่มและนำเสนอผลงานหน้าชิ้น
• ใบความรู้
การวัดและประเมินผล
คะแนนเข้าเรียน/การมีส่วนร่วมในชิ้นเรียน 10%
สอบกลางภาค 20%
สอบปลายภาค 20%
งานกลุ่ม 25%
งานเดี่ยว 25%
กิจกรรมการเรียนรู้ : ให้นักเรียนจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ความรุนแรงและความเสี่ยง พร้อมกับทำรายงานส่งอาจารย์และใบความรู้ในแต่ละชั่วโมง
เวลาเรียน/จำนวนชั่วโมง
ยาเสพติด 1 ชั่วโมง
ความรุนแรงในสังคม 1 ชั่วโมง
สุขภาพจิตกับการลดความเสี่ยง 1 ชั่วโมง
การลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ 1 ชั่วโมง
กฎหมายยาเสพติด 1 ชั่วโมง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ 1 ชั่วโมง
สุขภาพกับปัจจัยเสี่ยง 1 ชั่วโมง


สาระที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5


ชื่อหน่วยการเรียนรู้   :   สาเหตุและผลการเกิดความขัดแย้งระหว่างนักเรียน
มาตรฐานการเรียนรู้  
:   เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ครอบครัว  เพศศึกษาและมีทักษะในการดำเนิน
                                      ชีวิต
ตัวชี้วัด     
:   วิเคราะห์สาเหตุและผลของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างนักเรียน
สาระสำคัญ   
:  
1. เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจและวิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้
2. เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงผลของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างนักเรียนได้
สมรรถนะของผู้เรียน  
: 
1. ความสามารถในการสื่อสาร  นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องที่ได้ไปถ่ายทอดได้แบบถูกต้อง
2. ความสามารถในการคิด สามารถคิดวิเคราะห์ สาเหตุและผลของความขัดแย้งได้
3. ความสามารถแก้ปัญหา   สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  นำความรู้ที่ได้มาใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 
: 
1. มีวินัย  นักเรียนต้องมีวินัยอยู่ในกฎระเบียบที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้และต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนได้
2.  มีจิตสาธารณะ  รู้จักเอื้อเฟื้อ  มีน้ำใจ  รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน
ชิ้นงาน
/ภาระงาน   : 
     ให้นักเรียนจัดกลุ่มทำงานเพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีในกลุ่มและปลูกฝังในเรื่องของความเอื้อเฟื้อมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  โดยทำงานในหัวข้อเรื่อง ผลกระทบเมื่อมีการขัดแย้งระหว่างนักเรียนเกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขปัญหา
การวัดประเมินผล :   คะแนน 100% มาจาก
·       คะแนนเข้าเรียน 10%
·       รายงาน20%
·       สอบกลางภาค 30%  
·       สอบปลายภาค 40%
กิจกรรมการเรียนรู้  :  ให้นักเรียนแสดงละครภายในกลุ่มเรื่องของความขัดแย้งในนักเรียนและวิธีการแก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหา
เวลาเรียน
/ชั่วโมงเรียน  :
1.ทักษะในการป้องกันลดความขัดแย้งและการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักเรียน    2   ชั่วโมง
2.การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความขัดแย้งภายในนักเรียน   2    ชั่วโมง


สาระที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ : ทักษะป้องกันลดความขัดแย้งและแก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัว
มาตรฐานการเรียนรู้ : เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ครอบครัว เพศศึกษาและมีทักษะในการดำเนินชีวิต
ตัวชี้วัด : เลือกใช้ทักษะที่เหมาะสมในการป้องกันลดความขัดแย้งและแก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัว
ได้ถูกต้อง
สาระสำคัญ : ทักษะในการป้องกันลดความขัดแย้งและการแก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัว
สาระการเรียนรู้ : ทักษะการลดความขัดแย้งและแก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัว
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน :
1.ความสามารถในการสื่อสาร นักเรียนสามารถนำทักษะการป้องกันลดความขัดแย้งและการแก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัวไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง
2.ความสามารถในการคิด สามารถคิดวิเคราะห์ถึงทักษะต่างๆได้
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการแก้ปัญหาในครอบครัวและเรื่องเพศได้
4.ความสามารถในการใช้ชีวิต นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.อยู่อย่างพอเพียง ให้นักเรียนมีความพอใจในวิถีครอบครัวแบบพอเพียงและสุขเพียงพอ
2.รักความเป็นไทย ปลูกฝังให้รักความเป็นไทยรักษาขนบธรรมเนียมที่ดีงามเอาไว้
ชิ้นงาน/ภาระงาน : ให้นักเรียนเขียนเรียงความเรื่องครอบครัวของฉันและการแก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหาขึ้นภายในครอบครัว
การวัดประเมินผล : คะแนน 100% มาจาก
• คะแนนเข้าเรียน 10 %
• รายงาน 20 %
• สอบกลางภาค 30 %
• สอบปลายภาค 40 %
กิจกรรมการเรียนรู้ : ให้นักเรียนแสดงละครปัญหาในครอบครัวและมีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้องพร้อมวิธีการแก้ปัญหาในเรื่องนั้นๆ
เวลาเรียน/ชั่วโมงเรียน :
1.ทักษะในการป้องกันลดความขัดแย้งและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ 2 ชั่วโมง
2.ทักษะในการป้องกันลดความขัดแย้งและแก้ปัญหาภายในครอบครัว 2 ชั่วโมง
3.การดำเนินชีวิตในสังคม 2 ชั่วโมง



สาระที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3



ชื่อหน่วยการเรียนรู้   :   ค่านิยมในเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
มาตรฐานการเรียนรู้  
:   เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ครอบครัว  เพศศึกษาและมีทักษะในการดำเนิน
                                       ชีวิต
ตัวชี้วัด    
:    วิเคราะห์ค่านิยมในเรื่องเพศตามวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมอื่นๆ
สาระสำคัญ    
:    เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจในค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อให้นักเรียนสามารถแยกแยะและเข้าใจในเรื่องค่านิยมเรื่องเพศได้ถูกต้อง
สมรรถนะของผู้เรียน  
: 
1. ความสามารถในการสื่อสาร  นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องค่านิยมเรื่องเพศไปถ่ายทอดได้แบบถูกต้อง
2. ความสามารถในการคิด สามารถคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณในเรื่องของเพศศึกษาได้เป็นอย่างดี
3. ความสามารถแก้ปัญหา   สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเพศได้
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  นำความรู้ที่ได้มาใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 
: 
1. ใฝ่เรียนรู้ นักเรียนมีการค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องใหม่ๆอยู่เสมอ
2.  รักความเป็นไทย นักเรียนมีความรักนวลสงวนตัวมากขึ้นรู้จักและเข้าใจในขนบธรรมเนียมอันดีงามของไทย
ชิ้นงาน
/ภาระงาน  :  ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้มาจัดทำรายงานเรื่องค่านิยมเรื่องเพศโดยให้เลือกวัฒนธรรมของชาติใดก็ได้มา1ชาติ
การวัดประเมินผล   :   คะแนน100
·       คะแนนเข้าเรียน10
·       รายงาน20% 
·       สอบกลางภาค 30%
·       สอบปลายภาค   40%
กิจกรรมการเรียนรู้   :  ให้นักเรียนแสดงละครในเรื่องค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรมแบ่งกลุ่มให้เท่ากันแสดงตามวัฒนธรรมของชาติที่ตนเลือกได้
เวลาเรียน
/จำนวนชั่วโมง  :  
1.ค่านิยมในเรื่องเพศของวัฒนธรรมต่างๆ                       2  ชั่วโมง
2.ข้อดีข้อเสียของขนบธรรมเนียมของวัฒนธรรมต่างๆ    ชั่วโมง 
3.วัฒนธรรมไทยสอนอะไรในเรื่องเพศ                            ชั่วโมง
 
4.การรู้จักคุณค่าในตนเอง                                                ชั่วโมง


สาระที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2


ชื่อหน่วยการเรียนรู้   :  อิทธิพลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของสังคม
มาตรฐานการเรียนรู้ 
:   เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
        ตัวชี้วัด  
:    วิเคราะห์อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรม
                            ทางเพศและการดำเนินชีวิต
สาระสำคัญ 
:
     ในปัจจุบันถือว่าครอบครัว นั้นเป็นส่วนหนึ่งของสังคม นอกจากนั้นปัจจัยอื่นๆก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเช่นกัน  ดังนั้นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสังคมจึงเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของคนในสังคมทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของบุคคลภายในสังคม  ความแตกต่างทางวัฒนธรรม  การอยู่ร่วมกันภายในสังคม   พฤติกรรมทางเพศของคนในสังคม  วัฒนธรรมต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนในสังคม  เพศ  ฯลฯ  ทั้งหมดนี้จัดว่าเป็นองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมของสังคมทั้งสิ้น  ดังนั้นการที่จะอยู่ร่วมภายใต้สังคมนั้น ต้องมีการเคารพในกฎของสังคม  การปฎิบัติตามกฎระเบียบของสังคม การเข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเองและสังคม
       อิทธิพลต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมทางเพศและการดำเนินชีวิต   เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ   พฤติกรรมการรักร่มเพศ  เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมรักร่วมเพศนี้ก็นับว่าส่วนหนึ่งสังคมยอมรับแล้วแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ทางสังคมไทยนั้นยังไม่ค่อยยอมรับในพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้เท่าไหร่นัก  จากที่กล่าวมานั้นก็ชี้ให้เห็นถึง วัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปของบุคคลภายในสังคม และเราจะต้องดำเนินชีวิตอย่างไรภายในสังคม  อิทธิพลที่ส่งผลกระทบต่อสังคมมากที่สุดก็คือ  การไม่เข้าใจกันของคนในสังคมเพราะการที่เราจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้นั้น คนในสังคมต้องมีความรักซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีกันภายในสังคมเพราะหากเรามีความแตกแยกกันภายในสังคม ก็จะส่งผลให้สังคมนั้นไม่สงสุขมีแต่ความเดือดเนื้อร้อนใจกันถ้วนหน้าได้เป็นต้น
สาระการเรียนรู้  :  
·       ทักษะในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
·       อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรม   ทางเพศและการดำเนินชีวิต
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน :
1.ความสามารถในการสื่อสาร     ถ่ายทอดความรู้ที่ได้เรียนมาแก่บุคคลอื่นได้
2.ความสามารถในการแก้ปัญหา  นำความรู้ที่ได้มาใช้แก้ปัญหา 
3. ความสามารถ ในการใช้ทักษะชีวิต   นำความรู้ที่ได้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 
: 
1. ใฝ่เรียนรู้  นักเรียนต้องมีความพยายามที่จะฝักใฝ่ในความรู้ในเรื่อง   ของการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ 
2. รักความเป็นไทย นักเรียนต้องรู้จักในการรักษาขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยเอาไว้
 ชิ้นงาน
/ภาระงาน     :   จัดให้มีการจัดบอร์ดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต อิทธิพลของครอบครัว วัฒนธรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศ
การวัดประเมินผล   
:   คะแนน   100 %  ได้จาก
·       คะแนนเข้าเรียน  10%
·       รายงาน  20%
·       สอบกลางภาค  30%  
·       สอบปลายภาค   40%
กิจกรรมการเรียนรู้  :   จัดให้มีการแบ่งกลุ่มพูดคุยเกี่ยวกับการวางตัวในสังคมและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข  
-พูดคุยกันในเรื่องของการวางตัวว่าควรมีการวางตัวแบบไหนอย่างไรเมื่ออยู่ร่วมกันภายในสังคม  ต้องวางตัวอย่างไรให้เป็นที่รัก ต้องการของบุคคลที่อยู่ร่วมกันภายในสังคม เช่นเป็นที่รักของ  ครอบครัว เพื่อน  ครูบาอาจารย์เป็นต้น
 -บอกเกี่ยวกับแนวทางในการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
 -จากนั้นจัดทำบันทึกภายในกลุ่มของตนเอง และส่งตัวแทนออกมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน  เพื่อเป็นการนำเสนอความคิดของบุคคลภายในกลุ่มและเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นของบุคคลภายในสังคม
 เวลาเรียน
/จำนวนชั่วโมง       :  
ความสำคัญของครอบครัว  สังคมและทักษะในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง      2   ชม.
อิทธิพลต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมทางเพศและการดำเนินชีวิต
        1   ชม.                                                                   การสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตในด้านต่างๆ    2  ชั่วโมง


สาระที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

สาระที่ 1

1.ชื่อหน่วยการเรียนรู้ : การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
2.มาตรฐานการเรียนรู้ : พ.1.1เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
ตัวชี้วัด : 1.อธิบายกระบวนการสร้างสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ
2.วางแผนดูแลสุขภาพตามภาวะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเองและบุคคลในครอบครัว
3.สาระสำคัญ :
มนุษย์มีการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราจึงเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการตามวัยว่าเป็นอย่างไร ทั้งวัยเด็ก ผู้ใหญ่ วัยชรา รวมทั้งระบบอวัยวะต่างๆ เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ความเข้าใจทางพัฒนาการนี้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้
มนุษย์มีการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราจึงเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการตามวัยว่าเป็นอย่างไร ทั้งวัยเด็ก ผู้ใหญ่ วัยชรา รวมทั้งระบบอวัยวะต่างๆ ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ การสร้างเสริมสุขภาพ องค์ประกอบที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ การสร้างแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคด้วยแนวทางและภูมิปัญญาที่เหมาะสม การดูแลสุขภาพตัวเองและครอบครัวให้มีสุขภาพดี พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และความเครียด ปัจจัยเสี่ยง การปฏิบัติตนให้ถูกต้องในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยเกี่ยวกับผิวหนัง ตา หู จมูก เส้นผม เล็บ ปากและฟัน จะสามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติ และการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ความเข้าใจทางพัฒนาการนี้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้
4.สาระการเรียนรู้ :
• กระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ
• การทำงานของระบบอวัยวะต่าง
• การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของอวัยวะต่างๆ [อาหาร การออกกำลังกาย นันทนาการ
การตรวจสุขภาพ ]
5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน :
1. ความสามารถในการคิด ผู้เรียนสามารถอธิบายกระบวนการคิดเกี่ยวกับระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆและการวางแผนดูแลสุขภาพได้
2. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ผู้เรียนสามารถนำกระบวนการต่างๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ

6.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ : ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านร่างกายของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาย
7.ชิ้นงาน/ภาระงาน;
• การศึกษาค้นคว้า/รานงานหน้าชิ้น
• การอภิปรายกลุ่มและนำเสนอผลงานหน้าชิ้น
• โครงงานระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ
• จัดบอร์ดการวางแผนดูแลสุขภาพ
8.การวัดและประเมินผล
คะแนนเข้าเรียน/การมีส่วนร่วมในชิ้นเรียน 10%
สอบกลางภาค 20%
สอบปลายภาค 20%
งานกลุ่ม 25%
งานเดี่ยว 25%
9.กิจกรรมการเรียนรู้ : ให้นักเรียนจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับระบบอวัยวะต่างๆที่ได้รับมอบหมายและบันทึกความรู้ที่ได้รับโดยย่อส่งอาจารย์
10.เวลาเรียน/จำนวนชั้วโมง
กระบวนการทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกาย 2 ชม.
ระบบประสาท 2 ชม.

ระบบสืบสับพันธุ์ 2 ชม.

ระบบต่อมไร้ท่อ 2 ชม.

ระบบไหลเวียนโลหิต 2 ชม.

ระบบหายใจ 2 ชม.

การสร้างเสริมสุขภาพ 1 ชม.

องค์ประกอบที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ 1 ชม.

การสร้างแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพและ
การป้องกันโรคด้วยแนวทางและภูมิปัญญาที่เหมาะสม 1 ชม.

การดูแลสุขภาพตัวเองและครอบครัวให้มีสุภาพดี 1 ชม.

พัฒนาการทางร่างกาย 2 ชม.

อารมณ์และความเครียด 1 ชม.

ปัจจัยเสี่ยง 1 ชม.

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายวิชา กลยุทธการจัดการการเรียนรู้

แบบประมวลรายวิชา (Course Syllabus)
ภาคต้นและภาคปลาย ปีการศึกษา 2553
ภาควิชาครุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน


1.คณะ ศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ ภาควิชา ครุศึกษา
2.รหัสวิชา 02198321 ชื่อวิชา ภาษาไทย กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้
จำนวน 3 (2 - 2) หน่วยกิต ภาษาอังกฤษ Strategies of Learning Management
3.คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
...ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ กลยุทธ์ในการออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้น ฐาน การประเมินการเรียนรู้ที่คาดหวัง การฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
Theories and concepts of learning management. Strategies of design and management of learning experiences at basic education level. Assessment of expected learning outcomes. Practicum on learning management skills in classroom.

4.วัตถุประสงค์ของวิชา
....4.1 อธิบายหลักการของทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ได้
....4.2 ประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐานได้
....4.3 สรุปสาระสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสาระ การเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้
....4.4 สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้
....4.5 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้นได้
....4.6 วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหลักสูตรและสร้างหน่วยการเรียนรู้ได้
....4.7 สามารถออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนได้
....4.8 จัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและ
บูรณาการคุณธรรมจริยธรรม หลักการประชาธิปไตยและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ได้
....4.9 ใช้ทักษะพื้นฐานในการสอน ใช้ระบบ รูปแบบ วิธีการและเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ ในชั้นเรียนได้
....4.10 สามารถนำประมวลรายวิชามาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายภาคและตลอดภาคได้
....4.11 สามารถเลือกใช้ พัฒนาและสร้างสื่อ อุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
....4.12 วัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ได้
....4.12 สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและจำแนกระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน จากการประเมินผลได้

5.หัวข้อวิชา (Course Outline)
....5.1 ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้
....5.2 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
....5.3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสาระการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
....5.4 พระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545
....5.5 การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้น
....5.6 การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหลักสูตรและ Backward Design กับการสร้างหน่วยการเรียนรู้
....5.7 การจัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา กระบวนการคิดการบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม หลักการประชาธิปไตยและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้
....5.8 ทักษะพื้นฐานในการสอน ระบบ รูปแบบการเรียนรู้ วิธีการและเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
....5.9 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
....5.10 Backward Design กับการออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
....5.11 การใช้และการผลิตสื่อและการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้
....5.12 การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้และการบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม
....5.13 Backward Design กับการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
....5.14 การฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

6.กระบวนการจัดการเรียนรู้
....กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย : บรรยาย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ ระดมสมอง อภิปราย สรุป ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานกลุ่มและงานรายบุคคล การฝึกปฏิบัติ การฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

7.สื่อและแหล่งเรียนรู้
....7.1 เอกสารประกอบการสอนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
....7.2 แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
....7.3 ppt.
....7.4 Website ต่าง ๆ
....7.5 สถาบันที่ใช้ในการฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

8. การวัดผลการเรียนรู้
....การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ 10 %
....งานรายบุคคล 30 %
....งานกลุ่ม 20 %
....การสอบกลางภาค 20 %
....การสอบปลายภาค 20 %

9.การประเมินผลการเรียนรู้
เกณฑ์การให้ระดับคะแนน
80 คะแนนขึ้นไป ได้ระดับคะแนน A หรือ 4.0
75-79 คะแนน ได้ระดับคะแนน B+ หรือ 3.5
70-74 คะแนน ได้ระดับคะแนน B หรือ 3.0
65-69 คะแนน ได้ระดับคะแนน C+ หรือ 2.5
60-64 คะแนน ได้ระดับคะแนน C หรือ 2.0
55-59 คะแนน ได้ระดับคะแนน D+ หรือ 1.5
50-54 คะแนน ได้ระดับคะแนน D หรือ 1.0